หลักการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการยืดอายุการใช้งานเครื่องตัด เจาะ?

17 พฤษภาคม 2022

หลายๆโรงงานอุตสาหกรรมมักประสบปัญหาในเรื่องของอายุการใช้งานเครื่องจักร แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะทราบว่าควรแก้ปัญหาอย่างไร วันนี้ Thaiparker จึงนำเรื่องของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventing Maintenance มาให้เรียนรู้กัน จะมีความสำคัญต่ออายุการใช้งานของเครื่องตัด เจาะ อย่างไรไปดูกันเลย

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) สำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมอย่างไร?

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventing Maintenance คือ การบำรุงรักษาตามแผน ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยลักษณะงานของ Preventing Maintenance ก็คือการวางแผนในการตรวจสอบ ทำความสะอาด ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกโรงงานอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการทั้งหลาย เพราะนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานมากยิ่งขึ้น และลดปัญหาความขัดข้องระหว่างกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังทำให้คุณสามารถคงรักษาคุณภาพกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดได้อีกด้วย 

ความสำคัญของการทำ Preventing Maintenance

  • ยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร
    วัตถุประสงค์สำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือ การยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการรักษาชิ้นส่วนต่างๆ และสภาพของเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานที่สุด โดยการหมั่นตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอ หากพบเจอจุดชำรุดก็สามารถดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดในเบื้องต้นได้ทันที

  • ทำให้การผลิตภายในโรงงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
    การใช้งาน Preventing Maintenance คือการทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนการใช้งานในระยะยาว เพื่อคงรักษาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตภายในโรงงาน ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องและสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากยิ่งขึ้น โดยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยังคงคุณภาพและสภาพการใช้งานได้เป็นอย่างดี ไม่มีการชำรุดที่รุนแรงเกิดขึ้น

  • ลดต้นทุนและรักษาทรัพย์สินของบริษัท
    การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการและเจ้าของโรงงานประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว เพราะคุณสามารถวางแผนและดำเนินการซ่อมบำรุงเครื่องจักรเบื้องต้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ป้องกันการเสียหายชำรุดที่รุนแรงได้เป็นอย่างดี ประหยัดเงินโดยการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานขึ้น รวมถึงลดต้นทุนค่าซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมสภาพที่ไม่จำเป็นของอุปกรณ์ต่างๆ ลงได้

ประเภทของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance)

  1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะ
    การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) ตามเวลา คือแผนการบำรุงรักษาที่ดำเนินการตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกันทุกสิ้นปี รายไตรมาส รายเดือน และรายสัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการและผู้จัดการโรงงานควรอ่านคู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ จากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างละเอียด เพื่อกำหนดตารางเวลาในการทำ PM

  2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน
    รูปแบบ Preventing Maintenance ประเภทนี้ คือจะกำหนดแนวทางการบำรุงรักษาหลังมีการใช้งานเครื่องจักรไปแล้วช่วงเวลาหนึ่งตามลักษณะปริมาณการใช้งาน โดยการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งานนั้นมีความแม่นยำกว่าการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะ เพราะสภาพและคุณสมบัติของเครื่องจักรและชิ้นส่วนต่างๆ ที่ผ่านการใช้งานจะบ่งชี้ได้แม่นยำมากกว่าว่าเราควรทำการบำรุงรักษาในช่วงไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด

  3. การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามการคาดการณ์
    รูปแบบ Preventing Maintenance ขั้นสูง คือมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนงานที่วางแผนและเหลือไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมไว้ นำมาพิจารณาก่อนที่จะระบุข้อกำหนดการทำ Preventing Maintenance ให้เหมาะสมที่สุด ยิ่งมีข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และพิจารณามากเท่าไรก็จะยิ่งช่วยให้เจ้าของโรงงานใช้จ่ายในการลงทุนและทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

หลักการยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร ตัด เจาะ ชิ้นงาน

  • ตรวจสอบคุณภาพและสภาพการใช้งานเครื่องจักร
    ในทุก ๆ ครั้งทั้งก่อนและหลังการใช้งานเครื่องจักร ตัด เจาะ ชิ้นงาน ควรต้องตรวจเช็กสภาพเครื่องจักรอยู่เสมอว่าพร้อมต่อการใช้งานหรือไม่ หากพบเจอจุดชำรุดให้ดำเนินการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนใหม่ทันที เช่นหากผิวชุบ PVD บน tooling เริ่มสึกหรอจำเป็นต้องเปลี่ยน tooling ตัวใหม่มาใช้งานทันที และอาจวางแผนส่ง tooling ตัวเก่าไปทำการแก้ไขและ re-coat PVD ใหม่เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

  • การใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกวิธี
    การเรียนรู้วิธีการและเลือกใช้งานเครื่องจักร ตัด เจาะ ชิ้นงานที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุของเครื่องจักรให้นานขึ้นได้ เพราะเครื่องจักรแต่ละชิ้นต่างก็มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน หากใช้งานแบบผิด ๆ ก็มีโอกาสที่จะทำให้เครื่องจักรชำรุดเสียหายได้ รวมถึงควรเลือกใช้เครื่องจักรให้เหมาะสมกับลักษณะงานและวัสดุด้วย เครื่องจักรจะได้ไม่สึกหรอก่อนเวลาอันควร รวมถึงการเลือกใช้กระบวนการปรับปรุงคุณสมบัติของชิ้นงานโลหะที่ประกอบเป็นเครื่องจักร เช่น การอบชุบทางความร้อน, การชุบฟอสเฟต, การชุบไนไตรดิ้ง หรือการเคลือบผิวแข็งแบบ PVD ให้เหมาะสมกับการใช้งานของชิ้นงานนั้นๆ ในเครื่องจักร ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้นได้เช่นกัน

  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
    เพื่อให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงต้องมีการวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือเพื่อที่พนักงานในโรงงานของคุณจะได้ทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจน รู้หน้าที่และสิ่งที่ต้องทำในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เรียนรู้วิธีตรวจสอบสภาพเครื่องจักร การตรวจจับหาจุดชำรุด การแก้ไข และการรวบรวมบันทึกข้อมูลเพื่อมองหาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องจักรชำรุด และวางแผนป้องกัน

สำหรับดอกสว่านที่ใช้ตัด-เจาะ (Cutting tools, Insert, Punch) หรือแม่พิมพ์ขึ้นรูปชิ้นงาน (Mold, Die) มักเกิดการเสียดสี หรือเกิดการสึกหรอระหว่างการใช้งานจนไม่สามารถใช้งานต่อได้ จึงต้องสั่งซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนบ่อย ทำให้เสียทั้งเวลา บุคลากร และต้นทุนการผลิตที่สูงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นด้วยกระบวนการเคลือบผิว PVD ให้ได้เนื้อฟิล์มที่บางระดับไมครอนบนผิวชิ้นงาน โดยความแข็งของเนื้อฟิล์มที่เคลือบจะมีค่าสูงกว่า Tungsten carbide ถ้าเปรียบเทียบกับการทำ Hard chrome หรือ Nitriding ฟิล์มที่ได้จากการชุบ PVD จะมีความแข็งมากกว่ามาก และสามารถลดการสึกหรอได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยความหนาฟิล์มที่บางเพียงไม่กี่ไมครอน ทั้งยังหมดกังวลเรื่องปัญหาขนาดของชิ้นงานที่เปลี่ยนไป ทำให้สามารถลดจำนวนครั้งในการบำรุงรักษาต่อปีให้น้อยลง ถือเป็นการลดต้นทุนและความขั้นตอนในการบำรุงรักษาได้อย่างดีเยี่ยม

สรุป

ถึงแม้ว่า ตอนนี้เครื่องจักรภายในโรงงานนั้นจะได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วการยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรนั้นก็ยังคงมีความสำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้สำหรับผู้ประกอบการทั้งหลาย เนื่องจากเมื่อเครื่องจักรผ่านการใช้งานเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรและชิ้นส่วนต่างๆ ก็มักเกิดการสึกหรอขึ้นได้ตามอายุและปริมาณการใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการจึงควรหมั่นทำ Preventing Maintenance โดยตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ หรือทำการป้องด้วยการทำกระบวนการต่างๆ เพื่ออายุการใช้งานของเครื่องจักร ด้วยการอบชุบทางความร้อน และทำการเคลือบผิวส่วนประกอบของเครื่องจักร เพื่อทำให้ผิวงานมีความแข็งแรงทนทานเพิ่มมากขึ้น ลื่นขึ้น ลดการเสียดสี และลดพลังงานที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนชิ้นงานนั้นๆ โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีระดับความชื้นสูง มีสารเคมี ยิ่งต้องทำการอบชุบทางความร้อนและเคลือบผิวเครื่องจักรให้แข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน ทนต่อการเกิดสนิมและป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้วย เพียงเท่านี้คุณก็สามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสมแล้ว


Thai Parker ไทยปาร์คเกอร์ไรซิ่ง ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการเคลือบผิวแข็ง (PVD) การเตรียมผิว และชุบโลหะสำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาและทำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน หากผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจใช้บริการเราในการเคลือบผิวแข็ง เตรียมผิวและชุบโลหะ เพื่อวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือเพื่อลดการสึกหรอของอุปกรณ์และการเกิดสนิมในเครื่องจักร ทางเรายินดีให้บริการท่านอย่างเต็มที่

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

แท็ก :
thaiparker thaiparker 023246600