เป็นกระบวนการเติมอะตอมคาร์บอนและไนโตรเจนเข้าสู่ผิวเหล็กที่อุณหภูมิประมาณ 800oC ถึง 880oC
ปกติในการทำแก็สคาร์โบไนไตรดิงจะใช้อุณหภูมิต่ำกว่าการทำแก็สคาร์บูไรซิ่ง แต่มีลักษณะที่คล้ายกันคือการทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ผิวที่แข็ง
การทำแก็สคาร์โบไนไตรดิง จะใช้อะตอมไนโตรเจนจากการแตกตัวของแก็สแอมโมเนียม และเพิ่มเข้าไปในบรรยากาศของการทำแก็สคาร์บูไรซิ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดไนไตรดิงและคาร์บูไรซิ่งในเวลาเดียวกัน
การชุบผิวแข็งด้วยกระบวนการคาร์โบไนไตรดิง ทำให้สามารถชุบเหล็กคาร์บอนต่ำได้ เช่น เหล็ก SPCC ซึ่งปกติเป็นเหล็กที่ทำคาร์บูไรซิ่งไม่ได้ ทำให้ต้นทุนด้านวัสดุลดลงซึ่งเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก และเนื่องจากกระบวนการคาร์โบไนไตรดิงยังสามารถทำได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าแก็สคาร์บูไรซิ่ง หลังจากผ่านกระบวนการแล้วจึงทำให้ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดและเสียรูปน้อยลงด้วย
คุณสมบัติ
- ประยุกต์ใช้ได้กับเหล็กหลากหลายประเภท เช่น เหล็กคาร์บอนต่ำ (เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เช่น SP, SS, S10C),
เหล็กชุบแข็ง (เหล็กอัลลอยด์ส่วนผสมต่ำ เช่น SCM, SCr, SNCM)
- สามารถทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วได้ที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งจะช่วยลดเรื่องการเสียรูป (ยกเว้นเหล็กทำแม่พิมพ์)
- เนื่องจากความสามารถในการชุบแข็งขึ้นอยู่กับไนโตรเจน การทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วจึงทำได้ง่ายกว่าในเหล็กกล้าคาร์บอน ซึ่งเป็นข้อดีทำให้ลดการแตกร้าวขณะชุบแข็ง
- เมื่อเปรียบเทียบกับแก๊สคาร์บูไรซิ่ง จะไม่ทำให้เกิดชั้นชุบแข็งที่ผิดปกติบนพื้นผิวชั้นนอกสุด และสามารถสร้างชั้นชุบแข็งที่สม่ำเสมอได้
- มีความต้านทานต่ออุณหภูมิจากกระบวนการอบคลายเครียด (Temper) มากกว่าแก๊สคาร์บูไรซิ่ง